Skip to main content

ทำไมจึงรู้สึกปวดฟันหลังดื่มน้ำเย็น

ทำไมจึงรู้สึกปวดฟันหลังดื่มน้ำเย็น

ทำไมจึงรู้สึกปวดฟันหลังดื่มน้ำเย็น

บางคนอาจเคยประสบกับอาการกินน้ำเย็นแล้วปวดฟัน ถ้าคุณปวดฟันขณะที่ดื่มน้ำเย็นหรือกินไอศกรีมแสดงว่าคุณมีอาการเสียวฟัน ปัญหานี้อาจจะไม่สำคัญหากความรู้สึกปวดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที หลังดื่มเครื่องดื่มเย็นหรือร้อน แต่ถ้าความปวดเกิดนานกว่า 30 วินาทีขึ้นไป ฟันชั้นในของคุณอาจได้รับความเสียหายได้

อะไรคือสาเหตุของอาการปวดฟันดังกล่าว

สาเหตุของอาการปวดฟัน ได้แก่

ฟันผุ และ/หรือ เหงือกบวม

หากคุณปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร หรือมีอาการเสียวฟันจากความเย็น ซึ่งอาจเกิดจากโพรงเล็ก ๆ ในฟันเกิดร้าวและอ่อนแอ หรืออาจเกิดจากรอยแยกที่ขอบฟันที่สึกกร่อนตามกาลเวลาและแรงกด แบคทีเรียอาจเข้าไปตามรอยแยกเหล่านั้นและจะเริ่มผลิตกรดมาทำลายฟัน และทำให้ไวต่อความเย็นและเป็นต้นเหตุของการเกิดกลิ่นปาก

การบดและกัดฟัน

การนอนกัดฟัน เป็นนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพนี้ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียเคลือบฟัน ฟันบิ่น และปัญหาทางทันตกรรมอื่น ๆ การขบกรามหรือบดฟันในขณะนอนหลับอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและความเจ็บปวดต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดหัวไมเกรน อาการปวดกราม อาการฟันแตกร้าว และอาการเสียวฟัน

เหงือกร่น

อาการเสียวฟันจากการทานอาหารที่เย็น อาจเกิดจากการกระตุ้นของเส้นประสาทภายในชั้นเนื้อฟันด้านใน รากฟันเป็นส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยส่วนที่บางที่สุดของเคลือบฟัน ทำให้เกิดความรู้สึกได้ไวต่อความเย็นมากขึ้นเป็นพิเศษถ้าเกิดอาการเหงือกร่นจนเห็นรากฟัน

โรคเหงือกอักเสบ

การสะสมของคราบพลัคและคราบสกปรกบนผิวฟันและโดยเฉพาะบริเวณแนวเหงือก เป็นอาการเริ่มต้นของโรคเหงือกอักเสบ คราบพลัคบนผิวฟันที่มากเกินไป อาจนำไปสู่อาการเสียวฟันได้ ดังนั้นควรแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบพลัค

การรับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดหรือน้ำตาลสูง

อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสามารถทำให้ฟันผุและเกิดอาการเสียวฟันได้ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือเสียวฟันได้

แปรงฟันแรงเกินไป

การแปรงฟันที่แรงเกินไป อาจเกิดแรงกดบนผิวฟันที่มากเกินไป รวมถึงยาสีฟันที่มีสารขัดฟันขาวและการแปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป ก็สามารถกัดกร่อนเคลือบฟันได้ หรือการแปรงฟันบ่อยเกินไปหรือแรงเกินไปอาจไปเร่งกระบวนการกัดกร่อนนี้ให้เร็วขึ้นได้เช่นกัน

ฟันแตกร้าว

รอยแตกหรือช่องว่างเล็ก ๆ ในฟัน สามารถขยายเป็นรอยแยกที่ใหญ่ขึ้นได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุทำให้เคลือบฟันขยายตัว รอยแยกเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อเส้นประสาทภายในฟัน ซึ่งเป็นผลให้เกิดอาการเสียวฟันตามมา

วิธี การ ดูแล ช่อง ปาก มีเคล็ดลับสำหรับคุณดังนี้

1. เปลี่ยนมาใช้หลอดเวลาดื่มน้ำ

การดื่มน้ำโดยใช้หลอดดูดสะอาดกว่าดื่มจากถ้วยโดยตรง การใช้หลอดดูดเครื่องดื่มจะช่วยให้เครื่องดื่มส่วนใหญ่จะผ่านฟันของคุณไปทันที และช่วยเลี่ยงอาการเสียวฟันได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการเกิดคราบหรือการเปลี่ยนสีบนฟันหน้าของคุณได้อีกด้วย

2. ลดการบริโภคอาหารที่มีความเป็นกรด

อาหารและเครื่องดื่มที่มีความกรดเป็นอันตรายต่อเคลือบฟัน เพราะความเป็นกรดจะสร้างความระคายเคืองต่อเนื้อฟันและชั้นเนื้อฟันที่เปราะบาง การหยุดบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรดจะช่วยหลีกเลี่ยงอาการเสียวฟันได้

3. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป

การกัดอาหารแรง ๆ อาจทำร้ายเอ็นฟันของคุณได้ การอักเสบของเอ็นฟันอาจสร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงในฟันของคุณได้ ซึ่งอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดฟันธรรมดา เพราะฉะนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ ก็จะสามารถช่วยป้องกันฟันของคุณจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

4. ควรใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม

แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไปและการแปรงฟันที่แรงเกินไป อาจทำให้ฟันระคายเคืองและเกิดอาการเสียวฟันได้ อาการเสียวฟันสามารถลดลงได้โดยการเปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันขนนุ่มขึ้น เช่น แปรงสีฟันดาร์ลี่ เอ็กเปิร์ต กัม แคร์ ที่ช่วยลดแรงกดได้ 50% หรือ แปรงสีฟันดาร์ลี่ ไฮเดนซิตี้ กัม แคร์ มีขนแปรงหนานุ่มขึ้น 350% อ่อนโยนต่อเหงือก แต่ทีสำคัญก็ไม่ควรแปรงฟันแรงจนเกินไป

5. ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน

ยาสีฟันดาร์ลี่ ดับเบิ้ล แอคชั่น มัลติ แคร์ และ ยาสีฟันดาร์ลี่ สูตรเกลือ สมุนไพร ซึ่งเป็นยาสีฟันที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับอาการเสียวฟัน สารที่อยู่ในยาสีฟันสามารถลดอาการเสียวฟันในขณะดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นได้ และช่วยทำให้สุขภาพฟันโดยรวมดีขึ้น

พบทันตแพทย์เป็นประจำ

เมื่อมีอาการเสียวฟันร่วมกับอาการอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบทันตแพทย์ อาการเสียวฟันมักเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาฟันที่ร้ายแรงขึ้น เช่น โรคเหงือกอักเสบ การติดเชื้อที่ฟัน หรือโรคฟันผุ ดังนั้นอย่าลืมดูแลฟันอย่างเหมาะสมและไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถตรวจสุขภาพช่องปากหรือทำการรักษาเฉพาะทางได้หากจำเป็น

เคล็บลับการดูแลช่องปาก
/
อาการเสียวฟัน
/
ทำไมจึงรู้สึกปวดฟันหลังดื่มน้ำเย็น